วัดไทเซคิจิ
คำบรรยายโอโกะ – กรกฎาคม 2019
บทธรรมนิพนธ์ “จดหมายตอบมัตสึโนะ”
(มัตสึโนะ-โดโนะ โกเฮ็นจิ)
“ลูกปลามีมากมาย แต่มีไม่กี่ตัวที่เติบโตเป็นปลาตัวใหญ่ ถึงแม้ว่าต้นมะม่วงออกดอกมากมาย มีไม่กี่ดอกที่กลายเป็นผล เช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีจำนวนวมากมายที่ตั้งใจจะบรรลุการรู้แจ้ง แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ปฏิบัติต่อเนื่องและสามารถบรรลุพุทธภาวะ ความปรารถนาของมนุษย์ปุถุชนเพื่อบรรลุการรู้แจ้งบ่อยครั้งจะถูกอิทธิพลของกรรมชั่วขัดขวางและพวกเขาหวั่นไหวต่อสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆอย่างง่ายดาย ทหารที่สวมเสื้อเกราะมีมากมาย แต่มีไม่กี่นายเข้าสู่การรบโดยปราศจากความกลัว”
(โกโช หน้า 1048-1049)
คำอธิบาย
ถึงแม้ว่าลูกปลามีจำนวนมาก มีจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่เติบโตเป็นปลาตัวใหญ่ ถึงแม้ว่าต้นมะม่วงมีดอกมากมาย มันกลายเป็นผลน้อยมาก พวกเราสามารถพูดว่าเช่นเดียวกับมนุษย์ มีคนมากมายปรารถนาที่จะรู้แจ้ง แต่น้อยคนนักที่สามารถระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ถดถอยและเข้าสู่หนทางแท้แห่งการรู้แจ้ง โดยสรุปแล้ว ความตั้งใจของมนุษย์ปุถุชนในบรรลุการรู้แจ้งมักถูกความชั่วร้ายขัดขวาง ทำให้พวกเขาตกอยู่ใต้อิทธิพลนั้นอย่างง่ายดาย ทหารที่สวมเสื้อเกราะมีหลายนาย แต่น้อยคนเข้าสู่การรบโดยปราศจากความกลัวใดๆ
คำอธิบายคำศัพท์สำคัญ
ต้นมะม่วง: ตำรา “การออกเสียงและความหมายในพระสูตรทั้งหมดในศาสนาพุทธ”(ภาษาจีน :Yiqiejing yinyi一切經音義อวี๋เชี่ยจิ่ง อินอี้; ภาษาญี่ปุ่น: เก็นโนะ องงิ) มีคำอธิบายดังต่อไปนี้: “ต้นไม้ที่ให้ผลนี้ออกดอกมากมายแต่น้อยดอกที่กลายเป็นผล” ต้นไม้นี้ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงความยากที่จะบรรลุพุทธภาวะ
ตั้งใจบรรลุการรู้แจ้ง: ความปรารถนาเพื่อบรรลุการรู้แจ้ง ในคำสอนก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตรอธิบายว่าสามารถบรรลุการรู้แจ้งโดยการกำจัดกิเลสเท่านั้น แต่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรสอนว่าการนับถือเมียวโฮ-เร็งเง-เคียวทำให้คนเหล่านั้นสามารถบรรลุการรู้แจ้งโดยไม่ต้องกำจัดกิเลส
อิทธิพลของกรรมชั่ว: เหตุโดยอ้อมที่ก่อให้เกิดผลด้านลบ ตามคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนิน ถึงแม้ว่าพวกเราเผชิญอิทธิพลของกรรมชั่ว ถ้าพวกเราใช้มันเป็นโอกาสเพื่อเพิ่มความพยายามในด้านความศรัทธาและการปฏิบัติ พวกเราจะสามารถเปลี่ยนแม้แต่อิทธิพลชั่ว ให้เป็นอิทธิพลด้านบวกด้วยกระบวนการ “การเปลี่ยนพิษเป็นยา” (เฮ็นโดกึ อิยกึ)
ภูมิหลังและสาระสำคัญ
พระนิชิเร็น ไดโชนินเขียนบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ในวันที่ 9 ธันวาคม ปีที่ 2 แห่งสมัยเค็นจิ (ค.ศ.1276) 2 ปีครึ่งหลังจากที่ท่านปลีกตัวไปอยู่ที่ภูเขามิโนบุ ณ เวลานั้นท่านอายุ 55 ปี นี่คือจดหมายซึ่งเขียนถึงมัตสึโนะ โรขุโร-ซาเอมน ที่เป็นผู้ปกครองพื้นที่มัตสึโนะในเขตอิฮาระ (เมืองฟูจิในปัจจุบัน) และพระซัมมิ-โบ ลูกศิษย์ของท่าน นำจดหมายฉบับนี้ไปส่ง
จากเนื้อหาในบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “การดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการ”
ในจดหมายฉบับนี้ พระนิชิเร็น ไดโชนินตอบคำถามของมัตสึโนะที่ถามท่านว่ากุศลผลบุญในการสวดไดโมขุระหว่างนักปราชญ์กับพวกเรามีความแตกต่างกันประการใด?
“พระนิชิเร็น ไดโชนิน มีความแตกต่างกันมากเพียงใดระหว่างกุศลผลบุญของไดโมขุที่ท่านสวด กับกุศลผลบุญของไดโมขุที่พวกเราในฐานะลูกศิษย์และผู้ติดตามท่านสวด?”
(โกโช หน้า 1046, สรุปความ)
ก่อนอื่นและสำคัญที่สุด พระนิชิเร็น ไดโชนินกล่าวว่า “ไม่มีความแตกต่างใดๆในกุศลผลบุญของการสวดไดโมขุ” (อ้างแล้ว) นอกจากนี้ ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า:
“มีความแตกต่างในกุศลผลบุญถ้าคนๆหนึ่งสวด และในขณะเดียวกันกระทำ “การดูหมิ่นธรรมะ 14ประการ” ในข้อใดข้อหนึ่ง”
ในข้อความที่พวกเรากำลังศึกษา ท่านอธิบายว่ามีคนมากมายที่ตั้งใจปฏิบัติเมียวโฮ-เร็งเง-เคียวแต่น้อยคนสามารถบรรลุการรู้แจ้งโดยการปฏิบัติด้วยความศรัทธาแท้ ท่านให้กำลังใจพวกเราว่าอย่าตกอยู่ใต้อิทธิพลของกรรมชั่วและท่านแนะนำพวกเราให้เตรียมตัวให้พร้อมและอย่าหย่อนในความพยายาม ขณะที่พวกเรานับถือศาสนาพุทธแท้และก้าวหน้าด้วยการทุ่มเทเพื่อบรรลุพุทธภาวะ
กุศลผลบุญยิ่งใหญ่อยู่ที่ความศรัทธาและการปฏิบัติของพวกเราอย่างต่อเนื่อง
ในบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็น ไดโชนินใช้ตัวอย่างปลาและต้นมะม่วงเพื่อแสดงความเสียใจต่อข้อเท็จจริงที่ว่ามีคนมากมายที่เริ่มปฏิบัติศาสนาพุทธนี้แต่น้อยคนเท่านั้นสามารถบรรลุการรู้แจ้ง แม้แต่ในสังคมทุกวันนี้ พวกเราได้ยินคำกล่าว “ความเพียรคือพลัง”(Persistence is power) หรือ “ฝึกฝนบ่อยก็เก่งได้”(Practice makes perfect) ในความพยายามทั้งหลาย สิ่งสำคัญคือทุ่มเทความพยายามของพวกเราโดยไม่ล้มเลิกกลางคัน ในความเป็นจริง เป้าหมายของพวกเราคือบรรลุภูมิชีวิตสูงสุดแห่งการรู้แจ้ง ดังนั้น พวกเราต้องปฏิบัติตามคำชี้นำของพระนิชิเร็น ไดโชนินและก้าวหน้าต่อเนื่องอย่างแน่วแน่ด้วยการทุ่มเทให้มาก
ไม่คำนึงว่าพวกเราอาจจะเผชิญอิทธิพลของกรรมชั่วร้ายมากอย่างไร พวกเราต้องไม่หวั่นไหว ในความเป็นจริงพวกเราต้องใช้มันเป็นโอกาสก้าวหน้า เพิ่มความศรัทธาและการปฏิบัติของพวกเราให้มากขึ้น โดยการพัฒนาท่าทีที่เด็ดเดี่ยว ถ้าพวกเราพบว่าเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัตินี้ในหัวใจของพวกเรา หรือถ้าเกิดความลังเลหรือความสงสัยในจิตใจของพวกเรา พวกเราต้องรู้ว่ามีหลายครั้งที่ความศรัทธาของพวกเราถูกทดสอบ และพวกเราควรจะกำจัดกรรมด้านลบของพวกเราเพื่อบรรลุการรู้แจ้งแน่นอน
พวกเราจะป้องกันตัวพวกเราเองมิให้กระทำการดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการได้อย่างไร?
ในบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินเตือนพวกเราอย่างเข้มงวดให้ป้องกันตัวพวกเราเองมิให้กระทำการดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการ การดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการคือ:
- ความทะนงตัว:ยโสและความทะนงตัวและดูถูกศาสนาพุทธแท้
- ความละเลย: เกียจคร้านและไม่เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติศาสนาพุทธของตนเอง
- การแปลความหมายตามอำเภอใจที่เห็นแก่ตัว: มีความเย่อหยิ่งเกี่ยวกับศาสนาพุทธแท้ ตามความคิดตามอำเภอใจของตนเอง
- ความเข้าใจผิวเผิน: ประเมินค่าศาสนาพุทธแท้ ซึ่งลึกซึ้งและกว้าง ตามความรู้ตื้นๆของตน เองและไม่แสวงหาความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
- ความยึดติดกิเลส: ยึดติดกิเลสของตนและไม่มีความเคารพคำสอนของศาสนาพุทธแท้
- ขาดจิตใจใฝ่แสวงหาเพื่อความเข้าใจลึกซึ้ง:ไม่พยายามเข้าใจธรรมะแท้
- ความไม่เชื่อ: ไม่เชื่อศาสนาพุทธแท้
- ความรังเกียจ: ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดหรือบิดเบี้ยวและวิจารณ์ศาสนาพุทธแท้
- ความสงสัยที่หลงผิด: ไม่ไว้วางใจศาสนาพุทธแท้
- การพูดให้ร้าย: ดูหมิ่นศาสนาพุทธแท้
- การดูหมิ่น: ดูถูกผู้ที่นับถือศาสนาพุทธแท้
- ความเกลียดชัง:เกลียดผู้ที่นับถือศาสนาพุทธแท้
- ความอิจฉา: อิจฉาและไม่พอใจผู้ที่นับถือศาสนาพุทธแท้
- ความเจ็บใจ: มีความแค้นต่อผู้ที่นับถือศาสนาพุทธแท้
สิ่งที่มีความหมายสำหรับพวกเราคือปฏิบัติอย่างจริงจังทุกวันโดยไม่ดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการ
ในบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็น ไดโชนินพูดถึงเรื่องหิมาลัยกุมารและสอนว่าการยึดมั่นความศรัทธาด้วยจิตวิญญาณแห่ง “ไม่เสียดายชีวิตของพวกเราเพื่อเห็นแก่ธรรมะ”(ฮือ จี ฉกึ ชิม-เมียว)จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะป้องกันพวกเราเองมิให้กระทำการด้านลบ อาทิ การดูหมิ่นธรรมะ 14 ประการ โดยเฉพาะ ท่านกล่าวดังต่อไปนี้เพื่อเห็นแก่ผู้นับถือ:
“สิ่งจำเป็นสำหรับท่าน ในฐานะผู้นับถือฆราวาส คือสวดนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียวอย่างแน่วแน่และทำบุญแด่พระสงฆ์ด้วย นอกจากนี้ เพื่อที่จะปฏิบัติอย่างถูกต้องตามที่สัทธรรมปุณฑริกสูตรสอน ท่านต้องเผยแผ่ธรรมะสุดความสามารถของท่าน” (โกโช หน้า 1051)
ดังนั้น พระนิชิเร็น ไดโชนินสนับสนุนพวกเราให้สวดไดโมขุที่จริงใจอย่างต่อเนื่อง ร่วมในการโทซัง, ร่วมพิธีและการประชุม และนอกจากนี้ ทำชะคุบุขุสุดความสามารถของพวกเราตามสภาพแวด ล้อมของพวกเราแต่ละคน ยิ่งกว่านั้น สิ่งสำคัญคือผู้นับถือฆราวาสแต่ละคนปฏิบัติเพื่อตัวเองและเพื่อผู้อื่นด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวแห่งต่างกายใจเดียว ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ชะคุบุขุคือการปฏิบัติศาสนาพุทธที่สำคัญอย่างแท้จริง
พวกเรามีเวลาอีก 1 ปี 7 เดือนก่อนจะถึงการครบ 800 ปีแห่งการเกิดของพระนิชิเร็นไดโชนิน (ผู้ก่อตั้งของพวกเรา) เพื่อที่จะสามารถฉลองศุภวาระสำคัญนี้ทั้งในนามและในความเป็นจริง พระสงฆ์และผู้นับถือฆราวาสของนิชิเร็น โชชูทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติชะคุบุขุจริง การมีท่าทีไม่สน ใจต่อชะคุบุขุ อาทิ “ข้าพเจ้าคิดว่าทำชะคุบุขุดีกว่าไม่ทำชะคุบุขุ” หรือ “ในที่สุด ข้าพเจ้าจะทำชะคุบุขุเมื่อถึงเวลา” เป็นความเข้าใจผิดใหญ่หลวง ชะคุบุขุคือการปฏิบัติศาสนาพุทธที่จำเป็นอย่างแท้จริงเพื่อการมีความสุขแท้ในชีวิตของพวกเราและเพื่อบรรลุพุทธภาวะ
เหนือสิ่งใด ตอนนี้พวกเราใกล้ถึงเวลาที่พวกเราต้องบรรลุเป้าหมายการมีผู้นับถือฮกเคโค800,000 คน ขอให้พวกเราเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหัวใจของพวกเราว่าตอนนี้พวกเราทำชะคุบุขุหรือไม่-นั่นคือ พวกเรามีส่วนร่วมในการปฏิบัตินี้หรือไม่-จะเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าพวกเราจะมีความสุขหรือไม่และในอนาคตพวกเราจะบรรลุการรู้แจ้งหรือไม่ ดังนั้น เป็นเรื่องปกติ, พวกเราต้องลงมือทำ นอกจากนี้ พวกเราต้องสอนสมาชิกใหม่อย่างจริงใจถึงวิธีปฏิบัติชะคุบุขุในฐานะผู้ปฏิบัติศาสนาพุทธของพระนิชิเร็น ไดโชนิน (พระพุทธะแท้) เพื่อที่พวกเราจะสามารถเติบโตและพัฒนาร่วมกัน
บทสรุป
พระสังฆราชนิชิเนียว โชนินของพวกเรามอบคำแนะนำดังต่อไปนี้:
“ในบทธรรมนิพนธ์ “จดหมายถึงนันโจ เฮียวเอะ ชิชิโร”พระนิชิเร็นไดโชนินเขียน:
“แม้แต่ผู้ที่มีความศรัทธาลึกซึ้งแต่ไม่ประณามศัตรูของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ไม่ว่าคนๆหนึ่งได้รับกุศลผลบุญยิ่งใหญ่อะไรจากการทำความดี ถึงแม้ว่าเขาคัดลอกสัทธรรมปุณฑริกสูตรทั้งพระสูตร 10 ล้านจบ และบรรลุการสังเกตจิตใจตามหลักการอิชิเน็น ซันเซ็น (หนึ่งขณะจิตสามพัน) ถ้าเขาไม่ประณามศัตรูของสัทธรรมปุณฑริกสูตร เขาจะไม่สามารถบรรลุการรู้แจ้ง” (โกโช หน้า 322)
พวกเราต้องนำคำพูดที่มีค่าดั่งทองคำเหล่านี้ไปปฏิบัติและสลักลงในหัวใจว่าชะคุบุขุสำคัญอย่างไรในการปฏิบัติของพวกเรา พวกเราต้องยึดมั่นคำพูดที่มีค่าดั่งทองคำเหล่านี้ด้วย
“ท่านต้องเผยแผ่แก่ผู้อื่นสุดกำลังของท่าน แม้ว่าจะเป็นประโยคเดียวหรือวลีเดียวก็ตาม”
(โกโช หน้า 668)
สิ่งสำคัญที่สุดคือทุ่มเทความพยายามสุดความสามารถของพวกเราและอุทิศตัวพวกเราเองเพื่อทำชะคุบุขุ เพื่อที่พวกเราจะบรรลุการรู้แจ้งในชาตินี้” (วารสารไดนิชิเร็น กุมภาพันธ์ 2019 หน้า 42)
พวกเรา พระสงฆ์และผู้นับถือฆราวาสของนิชิเร็น โชชู ต้องสลักคำแนะนำนี้ลงในหัวใจของพวกเราและทำชะคุบุขุ ขณะที่พวกเราก้าวหน้าสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของพวกเราสำหรับปีค.ศ.2021 การทำชะคุบุขุคือการปฏิบัติความเมตตาที่สุดเพื่อทำให้เกิดสันติสุขโลกและช่วยมวลมนุษยชาติให้พ้นทุกข์ นอกจากนี้ นี่คือการปฏิบัติศาสนาพุทธขั้นสูงสุดเพื่อการบรรลุการรู้แจ้งของพวกเราเองภายในชาตินี้
ในปัจจุบัน สมัยปัจฉิมธรรม สิ่งแวดล้อมของโลกรอบตัวพวกเรายุ่งเหยิงวันแล้ววันเล่า ดังนั้น พวกเราต้องนำทุกคนบนโลกมาสู่คำสอนแท้แห่งศาสนาพุทธของพระนิชิเร็น ไดโชนินสุดความพยายามของพวกเรา เอาชนะความยากลำบากใดๆ
ในข้อความจากบทธรรมนิพนธ์ “การดับขันธ์ของลูกสาวของอิชิกาวะ” พระนิชิเร็น ไดโชนิน กล่าว:
“บัดนี้ในสมัยปัจฉิมธรรมนี้ สัทธรรมปุณฑริกสูตรและพระสูตรอื่นไม่มีอานุภาพในการช่วยผู้คน นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียวเท่านั้นสามารถนำทุกคนไปสู่พุทธภาวะ”
(โกโช หน้า 1219; บทธรรมนิพนธ์พระนิชิเร็น ไดโชนิน เล่ม 1 หน้า 33, 35)
ขอให้พวกเราก้าวหน้าต่อเนื่องสู่ความสำเร็จของการโคเซ็น-รุฝุ ขอให้พวกเราสวดไดโมขุในการปฏิบัติเพื่อตัวเองและผู้อื่น และชะคุบุขุผู้คนมากมายเท่าที่เป็นไปได้อย่างเข้มแข็ง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากพระสังฆราชนิชิเนียว โชนิน