ข้อความสำคัญเพื่อความศรัทธา (Essential Passages For Faith)
โดยพระสังฆราชนิชิเนียว โชนิน
ณ โคฝุ-โบ วัดใหญ่ไทเซคิจิ
ในวาระการโทซังเพื่อศึกษาธรรมภาคฤดูร้อนสำหรับผู้นับถือฮกเคโคในประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 2011
บทธรรมนิพนธ์ “การเลือกเวลา”(เซ็นจิ-โช)
“ไม่มีข้อสงสัยแม้แต่น้อยนิดว่าอาตมา นิชิเร็น เป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรสำคัญที่สุดในประเทศญี่ปุ่น จากสิ่งที่อาตมาพูดในจดหมายฉบับนี้ ท่านควรจะรู้ว่าในประเทศจีน อินเดียและทั่วทั้งโลก ไม่มีใครเทียบเท่าพระนิชิเร็น” (โกโช หน้า 864)
จดหมาย “การเลือกเวลา” นี้พระนิชิเร็น ไดโชนินเขียนที่มิโนบุในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1275 (ปีที่ 1 แห่งสมัยเค็นจิ) จดหมายฉบับนี้เขียนถึงยุอิ นิชิยามะที่อยู่ในจังหวัดซูรุงะ บทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้คือหนึ่งใน 10 บทธรรมนิพนธ์สำคัญของพระนิชิเร็น ไดโชนิน
ตามที่ท่านสามารถเข้าใจ ชื่อ “การเลือกเวลา” หมายถึง เลือกเวลา พระสังฆราชองค์ที่ 26 พระนิชิคัน โชนินสอนใน “ข้อสังเกตเกี่ยวกับบทธรรมนิพนธ์ “การเลือกเวลา” ” ดังต่อไปนี้:
“ “เลือก” หมายถึงเลือกสรร “เวลา” ชี้ให้เห็นสมัยปัจฉิมธรรม ดังนั้น ความหมายแท้ในแง่ของการตีความเฉพาะเจาะจงคือเลือกสมัยปัจฉิมธรรม นั่นคือเหตุผลที่ทำไมบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้จึงถูกเรียกว่า “การเลือกเวลา” ”
(มนดัง หน้า 289)
ดังนั้น บทธรรมนิพนธ์นี้ถูกตั้งชื่อตามความหมาย “การเลือกสมัยปัจฉิมธรรม” นิพนธ์ฉบับเดิมอธิบายเพิ่มเติม:
“ประการแรก บัดนี้ ในสมัยปัจฉิมธรรม ต้องมีการเผยแผ่มหาธรรมซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนลึกของบทจูเรียวของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ประการที่ 2 ในสมัยปัจฉิมธรรม ต้องเคารพพระนิชิเร็นในฐานะสิ่งสักการะของศาสนาพุทธแห่งการหว่าน” (อ้างแล้ว)
พระนิชิคัน โชนินสอนว่าในชื่อนี้มี 2 ความหมาย ประการแรก คือ ความหมายที่ว่าในสมัยปัจฉิมธรรม มหาธรรมซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนลึกของบทจูเรียวของสัทธรรมปุณฑริกสูตรจะถูกเผยแผ่แน่นอน ความหมายที่ 2 คือ ผู้คนต้องเคารพพระนิชิเร็น ไดโชนินในฐานะพระพุทธะของศาสนาพุทธแห่งการหว่านในสมัยปัจฉิมธรรม
ประโยคแรก*ในบทธรรมนิพนธ์ “การเลือกเวลา” กล่าวว่าเวลามีความสำคัญในศาสนาพุทธ หลังจากนั้น บทธรรมนิพนธ์นี้อธิบายการเผยแผ่ศาสนาพุทธใน 3 ประเทศคือในประเทศอินเดีย จีน และญี่ปุ่นตลอด 3 สมัยแห่งสมัยสุทธิธรรม รูปธรรม และปัจฉิมธรรม บทธรรมนิพนธ์นี้เปิดเผยว่าจะต้องเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องให้สอดคล้องกับแต่ละสมัยและแต่ละประเทศในประเทศอินเดีย ใน 500 ปีแรกแห่งสมัยสุทธิธรรม พระมหากัสสป พระอานนท์ และผู้อื่นเผยแผ่คำสอนศาสนาพุทธหินยาน ใน 500 ปีที่ 2 แห่งสมัยสุทธิธรรม พระนาคารชุน พระวสุพันธ์และผู้อื่นเผยแผ่คำสอนมหายานชั่วคราว ในกึ่งกลางสมัยรูปธรรม มหาธรรมาจารย์เทียนไท้เผยแผ่คำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรภาคทฤษฎีในประเทศจีน และถึงปลายสมัยรูปธรรม มหาธรรมาจารย์เด็งเงียวเผยแผ่คำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรภาคทฤษฎีในประเทศญี่ปุ่น
ในสมัยปัจฉิมธรรมเป็นการเริ่มต้นสมัยที่มหาธรรมบริสุทธิ์จะคลุมเครือและสูญสิ้น ณ เวลานี้ศาสนาพุทธของพระศากยมุนีพุทธะจะสูญสิ้นอานุภาพ บทธรรมนิพนธ์นี้เปิดเผยว่าในสมัยนี้ พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์จะปรากฏตัวและเผยแผ่มหาธรรมสูงส่งที่สุดและช่วยมวลมนุษย์
ในบทธรรมนิพนธ์นี้ พระนิชิเร็น ไดโชนินสอนต่อไปว่าคนๆหนึ่งต้องปฏิบัติศาสนาพุทธโดยไม่เสียดายชีวิตของตน มุ่งสู่ความสำเร็จของการโคเซ็น-รุฝุในสมัยปัจฉิมธรรม สมัยชั่วร้ายซึ่งสกปรกด้วยมลทิน 5 ประการ
ตามการตีความทั่วไป “ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร” ซึ่งถูกกล่าวถึงในข้อความจากบทธรรมนิพนธ์นี้หมายถึงลูกศิษย์และผู้ติดตามพระนิชิเร็น ไดโชนิน อย่างไรก็ตาม ตามการตีความเฉพาะ เจาะจง ชี้ให้เห็นพระนิชิเร็น ไดโชนิน (พระพุทธะแท้ในสมัยปัจฉิมธรรม)
ในความหมายทั่วไป “ผู้อุทิศชีวิต” หมายถึง ผู้ปฏิบัติศาสนาพุทธ ยกตัวอย่าง ในบทธรรมนิพนธ์ “10 คำสอนสูงส่ง” พระนิชิเร็น ไดโชนิน กล่าว:
“ควรจะถือว่าบุคคลที่มีอวิชชาทุกคนเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ถ้าเขาสวดนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว”
(โกโช หน้า 468)
ตามที่ข้อความจากบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้สอน ในความหมายทั่วไป ลูกศิษย์และผู้ติดตามพระนิชิเร็นไดโชนินทั้งหมดที่สวดนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว คือ ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร
อย่างไรก็ตาม ไม่มีบุคคลใดนอกจากพระนิชิเร็นไดโชนินที่มีชีวิตในสมัยปัจฉิมธรรมด้วย 3 ทางของการกระทำ (ความคิด คำพูดและการกระทำ) ตรงตามสัทธรรมปุณฑริกสูตรทุกประโยคและวลี ดังนั้น บทธรรมนิพนธ์ “การเลือกเวลา” กล่าวว่า:
“เป็นเวลา 700 กว่าปี ตั้งแต่สมัยของจักรพรรดิคิมเม [ค.ศ. 510-571] จนถึงรัชสมัยจักรพรรดิ[โกอุดะ ค.ศ. 1267-1324] ในปัจจุบัน พวกเราไม่เคยเห็นหรือไม่เคยได้ยินคนใดฉลาดพอที่จะสวดนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว และสนับสนุนให้ผู้อื่นทำตาม เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น มองไม่เห็นดาว เมื่อกษัตริย์ฉลาดปรากฏตัว กษัตริย์โง่ตกต่ำลง เมื่อคำสอนแท้เผยแผ่ คำสอนชั่วคราวสาบสูญ ถ้าคนที่มีปัญญาสวด นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว และคนโง่ทำตาม เหมือนเงาตามร่างกาย หรือเสียงก้องสะท้อนเสียงหลัก ไม่มีข้อสงสัยแม้แต่น้อยนิดว่าอาตมา นิชิเร็น เป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรสำคัญที่สุดทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น” (โกโช หน้า 863)
เช่นกัน พระนิชิเร็น ไดโชนินสอนในบทธรรมนิพนธ์ “จดหมายถึงพระเรียวคันแห่งวัดโกคุระขุจิ”: “พระนิชิเร็นเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรสำคัญที่สุดในประเทศญี่ปุ่น” (โกโช หน้า 376)
นอกจากนี้ ในบทธรรมนิพนธ์ “เปิดดวงตา” มีใจความว่า:
“เนื่องจากการปรากฏของศัตรูร้ายกาจ 3 ประเภท ถ้าไม่ใช่พระนิชิเร็น ใครสามารถทำให้คำพูดของพระพุทธะเกี่ยวกับผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นจริง?” (โกโช หน้า 541)
นอกจากนี้ ในบทธรรมนิพนธ์ “ว่าด้วยพฤติกรรมของพระพุทธะ” สอนดังนี้:
“บัดนี้อาตมา นิชิเร็น เป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรสำคัญที่สุด ไม่มีความผิดพลาดแม้แต่น้อยนิดในคำพูดและการกระทำของอาตมา อาตมาสอนคำสอนแท้นี้เพื่อที่จะช่วยมวลมนุษย์ในประเทศญี่ปุ่น ที่มีชะตากรรมตกนรกแห่งความทรมานไม่สิ้นสุด” (โกโช หน้า 1059)
ท่านสอนเพิ่มเติมในบทธรรมนิพนธ์ “คำสอนปากเปล่า”:
“ “ตถาคต” หมายถึง พระศากยมุนีพุทธะ หรือในความหมายกว้าง คือ พระพุทธะทุกองค์ใน 3ชาติและ 10 ทิศ อย่างไรก็ตาม ในความหมายถูกต้อง ตถาคตคือ [พระพุทธะแท้] ที่ตัวตนสูงสุดคือ 3 กายที่รู้แจ้งที่ไม่ถูกสร้างและไม่ถูกประดับ บัดนี้ในสมัยปัจฉิมธรรม จากมุมมองของพระนิชิเร็นและผู้ ติดตามตถาคตหมายถึงมวลมนุษย์ในทางทฤษฎี อย่างไรก็ตาม ตถาคต หมายถึง ลูกศิษย์ของพระนิชิเร็นและผู้นับถือ ดังนั้น 3 กายที่รู้แจ้งที่ไม่ถูกสร้างและไม่ถูกประดับ*หมายถึงผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยปัจฉิมธรรม ชื่อที่น่าเคารพคือนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว”
(โกโช หน้า 1765)
ในข้อความจากบทธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็น ไดโชนินเปิดเผยว่าผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรรู้จักกันทั่วไปว่าพระพุทธะแท้แห่งสมัยปัจฉิมธรรม
ในลักษณะนี้ ในการตีความทั่วไป ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร หมายถึง พระสงฆ์และฆราวาสทุกคนที่เคารพและปฏิบัติศาสนาพุทธของพระนิชิเร็น ไดโชนินที่มีมรดกธรรมะถูกต้อง อย่าง ไรก็ตาม ในความหมายเฉพาะเจาะจง ชี้ให้เห็นพระนิชิเร็น ไดโชนิน พระพุทธะแท้แห่งสมัยปัจฉิมธรรม เท่านั้น ในที่นี้คือวิธีตีความทั่วไปและเฉพาะเจาะจง
สามารถกล่าวได้ว่าพระศากยมุนีพุทธะ มหาธรรมาจารย์เทียนไท้ และมหาธรรมาจารย์เด็งเงียวเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในอดีต ในบทธรรมนิพนธ์ “การบีฑาธรรมผู้อุทิศชีวิตต่อสัท ธรรมปุณฑริกสูตร” พระนิชิเร็น ไดโชนินกล่าว: “ในสมัยเมื่อพระพุทธะยังมีพระชนม์ชีพและใน 2,000 ปีแห่งสมัยสุทธิธรรมและรูปธรรม มีผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรแค่ 3 คน พวกท่านคือพระพุทธะ พระเทียนไท้ และพระเด็งเงียว” (โกโช หน้า 719)
“พระพุทธะ” ในข้อความนี้หมายถึงพระศากยมุนีพุทธะ ดังนั้น พระศากยมุนีพุทธะ พระเทียนไท้และพระเด็งเงียวถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในอดีต
พระนิชิเร็น ไดโชนินทำการเปรียบเทียบตัวท่านเองกับบุคคลทั้ง 3 ท่านกล่าวในบทธรรมนิพนธ์ “การเปรียบเทียบ 106 ข้อ” ดังต่อไปนี้:
“การปฏิบัติใน 2,000 ปีแห่งสมัยสุทธิธรรมและรูปธรรมอยู่บนพื้นฐานคำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรภาคทฤษฎี ในขณะที่การปฏิบัติในสมัยปัจฉิมธรรมอยู่บนพื้นฐานคำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรแท้ ทุกวันนี้ การปฏิบัติของพระนิชิเร็นเหนือกว่าการปฏิบัติของพระพุทธะในอดีต” (โกโช หน้า 1696)
เช่นกัน ท่านกล่าวในบทธรรมนิพนธ์ “จดหมายถึงชิโมยามะ”:
“ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธะ…” (โกโช หน้า 1159)
ข้อความนี้ชี้ให้เห็นว่าพระพุทธะแท้ (พระนิชิเร็น ไดโชนิน) เหนือยิ่งกว่าพระศากยมุนีพุทธะพระศากยมุนีพุทธะเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ พระเทียนไท้และพระเด็งเงียวเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยรูปธรรมช่วง 1,000 – 2,000 ปีหลังจากการปรินิพพานของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ในสมัยปัจฉิมธรรม พระนิชิเร็น ไดโชนิน (ผู้ก่อตั้ง) เป็นผู้อุทิศชีวิตแท้ต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร
ในการกล่าวถึงพระเทียนไท้และพระเด็งเงียว พระนิชิเร็น ไดโชนินสอนในบทธรรมนิพนธ์ “จดหมายตอบผู้ปกครองอูเอโนะ”:
“ถึงแม้ว่าดูเหมือนว่ามหาธรรมาจารย์เทียนไท้และมหาธรรมาจารย์เด็งเงียวเป็นผู้อุทิศชีวิตแท้ต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ทั้ง 2 ท่านนี้ไม่ได้ประสบการบีฑาธรรมสำคัญเหมือนกับที่พระศากยมุนีพุทธะประสบ” (โกโช หน้า 1122)
นอกจากนี้ ในบทธรรมนิพนธ์ “การรักษาความเจ็บป่วย” มีใจความว่า:
“แต่ตอนนี้ อาตมา นิชิเร็น เผชิญทุกอุปสรรค อุปสรรค 3 และมาร 4 ที่พระนิชิเร็นกำลังเผชิญรุนแรงมากยิ่งกว่าอุปสรรค 3 และมาร 4 ที่พระเทียนไท้ พระเด็งเงียว และผู้อื่นต้องเผชิญในสมัยของพวกเขา” (โกโช หน้า 1239)
ในแง่ของการประสบการบีฑาธรรมสำคัญ ทั้งพระเทียนไท้ และพระเด็งเงียว ด้อยกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับพระศากยมุนีพุทธะ เมื่อนำบุคคลทั้ง 2 มาเปรียบเทียบกับพระนิชิเร็น ไดโชนิน ความแตกต่างยิ่งห่างกว่ากันมาก ดังนั้น ถือว่าพระเทียนไท้และพระเด็งเงียวเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยรูปธรรม แต่ในสมัยปัจฉิมธรรม พระนิชิเร็นไดโชนินเท่านั้นคือผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร
หนึ่งในหลายเหตุผลคือเนื่องจากในช่วงสมัยรูปธรรม ยังไม่เหมาะแก่การเผยแผ่สัทธรรมปุณ ฑริกสูตร บทธรรมนิพนธ์ “การเลือกเวลา” มีใจความว่า:
“มี 2 ครั้งเมื่อต้องเผยแผ่สัทธรรมปุณฑริกสูตร ครั้งแรกคือในช่วง 8 ปี[สุดท้าย]เมื่อพระศากยมุนีพุทธะยังมีพระชนม์ชีพ ครั้งที่ 2 คือ 500 ปีที่ 5 หลังจากการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธะ”(โกโช หน้า 838)
เหตุผลที่ 2 คือ ทั้งพระเทียนไท้และพระเด็งเงียวไม่เคยแนะนำคนให้สวดนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 คืออาจารย์แห่งคำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรภาคทฤษฎี พวกเขาไม่ได้สนับสนุนผู้คนให้สวดนัมเมียวโฮ-เร็งเง-เคียว ซึ่งต้องเผยแผ่ในสมัยปัจฉิมธรรม
พระนิชิเร็น ไดโชนินสอนในบทธรรมนิพนธ์ “ว่าด้วยความหมายของตัวตนแท้แห่งเมียวโฮ-เร็งเง-เคียว”:
“อักษร 5 ตัวของธรรมมหัศจรรย์ (เมียวโฮ) เป็นมหาธรรมบริสุทธิ์ที่ต้องเผยแผ่อย่างกว้างขวางในสมัยปัจฉิมธรรม และนี่คือมหาโพธิสัตว์ที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นโลกมีจำนวนเท่ากับธุลีฝุ่นใน 1,000 โลกที่ถูกมอบภารกิจให้เผยแผ่อย่างแพร่หลาย ดังนั้น พระหนานเย่ว พระเทียนไท้และพระเด็งเงียว ถึงแม้ ว่าในหัวใจของพวกเขาเข้าใจความจริง ปล่อยให้ผู้นำและอาจารย์แห่งสมัยปัจฉิมธรรมเผยแผ่อย่างกว้างขวาง ในขณะที่พวกเขาเองละเว้นการกระทำเช่นนั้น”
(โกโช หน้า 702; เทียบเคียง MW 7 หน้า 81-82)
สามารถถือได้ว่าพระศากยมุนีพุทธะ พระเทียนไท้ และพระเด็งเงียวเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยอดีต อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้ง 3 ไม่ใช่ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยปัจฉิมธรรม ถ้านักปราชญ์เหล่านี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยปัจฉิมธรรม เมื่อนั้น พระนิชิเร็น ไดโชนิน ที่เป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยปัจฉิมธรรม สูงส่งกว่า
ภายในข้อความจากบทธรรมนิพนธ์ที่ซึ่งกล่าวถึงผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระสทาปริภูตโพธิสัตว์ (ฟุเคียว) ก็เช่นกัน ถูกบรรยายว่าเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร นอกจากนี้ ผู้อุทิศชีวิตต่อพระสูตรอื่นก็ถูกกล่าวถึง
บทธรรมนิพนธ์ “จดหมายตอบภรรยาของชิโจ คิงโงะ” มีใจความว่า:
“เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้อุทิศชีวิตต่อพระสูตรอื่นทั้งหมดกับผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเหมือนดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ในขณะที่ผู้อุทิศชีวิตต่อพระสูตรอื่นทั้งหมดคือดาวมากมายหรือตะเกียง” (โกโช หน้า 756)
พระนิชิเร็น ไดโชนินสอนว่ามีความแตกต่างมากระหว่างผู้อุทิศชีวิตต่อพระสูตรอื่นกับผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ยิ่งกว่านั้น ในบทธรรมนิพนธ์ “คำสอนปากเปล่า” ท่านกล่าว:
“ปัญญาของผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเหนือกว่ามหาปัญญาของผู้อุทิศชีวิตต่อคำสอนชั่วคราว 100, 1,000 และ 10,000 เท่า” (โกโช หน้า 745)
ข้อความนี้เน้นว่าผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเหนือกว่านักปราชญ์อื่นทั้งหมด ในขณะ เดียวกัน เมื่อพวกเราพิจารณาพฤติกรรมของพระนิชิเร็น ไดโชนิน ที่เป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณ ฑริกสูตรในแง่ของการตีความเฉพาะเจาะจง พวกเราต้องรู้ว่าผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเผชิญความยากลำบากต่างๆ แน่นอน
โคลง 20 บท*ในบท “การสนับสนุนให้อุทิศชีวิต” (คันจิ; บทที่ 13) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรเปิดเผยการปรากฏตัวของศัตรูร้ายกาจ 3 ประเภทหลังจากการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธะ หมายความว่า ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรจะประสบการบีฑาธรรมสำคัญ ถ้าไม่มีความยาก ลำบากมากเช่นนั้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ปฏิบัติคนนี้คือผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร
ดังนั้น บทธรรมนิพนธ์ “เปิดดวงตา” มีใจความว่า: “ถ้ามีผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ศัตรูร้ายกาจ 3 ประเภทต้องปรากฏตัวแน่นอน” (โกโช หน้า 570)
ตามที่พระนิชิเร็นไดโชนินสอนในข้อความนี้ พวกเราลูกศิษย์และผู้ติดตามพระนิชิเร็นไดโชนิน ต้องตระเตรียม เมื่อพวกเราเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร อุปสรรค 3 และมาร 4 จะปรากฏ และพวกเราจะเผชิญความยากลำบากมากอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การเอาชนะความยากลำบากมากเช่นนั้นคือวิธีเดียวเพื่อบรรลุพุทธภาวะในชาตินี้ถ้าพวกเราหวาดกลัวความยากลำบากเช่นนั้นและยอมแพ้ไม่พยายามทำชะคุบุขุหรือหย่อนในการปฏิบัติ
ประจำวันของพวกเราเพื่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อนั้น พวกเราจะทำลายกุศลผลบุญทั้งหมดซึ่งพวกเราสะสมมาจนถึงตอนนี้
ดังนั้น เพื่อที่จะเผยแผ่ธรรมะแท้ เหมือนพระนิชิเร็นไดโชนิน พวกเราถูกกระตุ้นให้ทำชะคุบุขุอย่างต่อเนื่องและอย่างกล้าหาญ เมื่อนั้น พวกเราสามารถเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรในความหมายทั่วไป
อาตมาเชื่อว่าสิ่งสำคัญคือพวกเราอุทิศตัวพวกเราเองต่อการปฏิบัติของพวกเราด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า “พวกเราเป็นผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเช่นกัน” ธรรมบาลเทวจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ถ้าพวกเขาสวดไดโมขุอย่างขยัน มันไม่จริงที่พวกเราเท่านั้นเผชิญความยาก ลำบากมาก ถึงแม้ว่าคนๆหนึ่งเผชิญความยากลำบาก ธรรมบาลเทวจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรแน่นอน
บท “การปฏิบัติที่สงบสุข” (บทที่ 14) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรมีใจความว่า:
“เพื่อเห็นแก่ธรรมะ เทวดาปกป้องและคุ้มครองพวกเขาอย่างสม่ำเสมอทั้งวันและคืน”
(โฮเคเคียว หน้า 396; สัทธรรมปุณฑริกสูตรแปลโดยนายวัตสัน หน้า 206)
บทนี้กล่าวต่อ: “ลูกเทวดาจะรอเขาและรับใช้เขา”
(โฮเคเคียว หน้า 402; สัทธรรมปุณฑริกสูตรแปลโดยนายวัตสัน หน้า 209)
ตามที่พระสูตรสอน ธรรมบาลเทว ลูกสาว 10 ตนของนางยักษ์หารีตี นางยักษ์หารีตี และผู้อื่นสัญญาว่าจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ทีละคน
เช่นกัน บท “ธารณี” (บทที่ 26) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรมีใจความว่า:
“ถ้ามีผู้ที่ต่อต้านมนต์ของพวกเรา และก่อกวนผู้เทศนาธรรมะ ศีรษะของพวกเขาจะแตกเป็น 7 เสี่ยงเหมือนกิ่งของต้นอรชกะ*”
(โฮเคเคียว หน้า 580; สัทธรรมปุณฑริกสูตรแปลโดยนายวัตสัน หน้า 310)
นี่คือที่ซึ่งวลี “ศีรษะของพวกเขาจะแตกเป็น 7 เสี่ยง”ปรากฏในพระสูตร ตามที่วลีนี้สอน ธรรมบาลเทวจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรแน่นอน ดังนั้น พวกเราไม่มีความจำเป็นต้องหวาดกลัว
บทธรรมนิพนธ์ “จดหมายตอบชิโจ คิงโงะ” (กลยุทธของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) กล่าว:
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมบาลเทวต้องคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร พวกเขาสัญญาในบท “การมอบหมาย” (บทที่ 22) ของสัทธรรมปุณฑริกสูตร…สุริยเทพจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร และมรีชิเท็น* ลูกสาวของพระพรหม จะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตรเช่นกัน” (โกโช หน้า 1407)
คำสัญญาว่าจะคุ้มครองผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งคำที่ธรรมบาลเทวกล่าว จะเป็นจริงเสมอ ดังนั้น พวกเราต้องปฏิบัติต่อเนื่องอย่างกล้าหาญด้วยความเชื่อมั่น ทั้งๆที่ปรากฏอุปสรรค 3 และมาร 4 หรือความยากลำบากอื่นๆ
ในบทธรรมนิพนธ์ “ว่าด้วยคำอธิษฐาน” มีใจความว่า:
“ดังนั้น พวกเรารู้ว่าคำอธิษฐานของผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธร%B